5 การสรุปผลและการเผยแพร่ผลงาน
          หลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จสมบูรณ์ ผู้พัฒนาควรเขียนรายงานโครงงานและเผยแพร่
ผลงาน ซึ่งมีรูปแบบและหัวข้อสําคัญดังนี้
——————————————————————————————————————————
          5.1 การเขียนรายงาน
                    การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงาน มีโครงร่างที่ใช้เป็นมาตรฐาน แบ่งออก
          เป็น 5 บท ดังนี้
                    บทที่ 1 บทนํา
                    บทที่ 2 หลักการ ทฤษฎี และงานที่เกี่ยวข้อง
                    บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน
                    บทที่ 4 การทดลองและผลการทดลอง
                    บทที่ 5 สรุปผล วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
                    บรรณานุกรม
                    คู่มือการใช้งาน

——————————————————————————————————————————

บทที่ 1 บทนํา
         บทนี้เป็นการอธิบายปัญหา ที่มาและความสําคัญของปัญหา ความยากในการแก้ปัญหา มาเคยแก้ปัญหาด้วยวิธีการใด มีข้อจํากัดอะไรบ้าง และโครงงานนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร แนวทางใด และหลังจากแก้ปัญหาแล้วมีประโยชน์อย่างไร และใครได้รับประโยชน์นั้น โดยเนื้อหา ในไปในลักษณะเดียวกันกับข้อเสนอโครงงาน แต่จะเขียนจากมุมมองของงานที่ได้พัฒนาเสร็จแล้ว

บทที่ 2 หลักการ ทฤษฎี และงานที่เกี่ยวข้อง
         บทนี้ควรแบ่งออกเป็นสองส่วน
         ส่วนที่ 1 เป็นการทบทวนโครงงานหรืองานชิ้นอื่นที่พัฒนามาเพื่อแก้ปัญหาในลักษณะ เดียวกันกับโครงงานที่จะทํา เพื่อศึกษาว่าโครงงานหรือชิ้นงานที่ผ่านมา มีการแก้ปัญหาโดยวิธีใด แก้ปัญหาอย่างไร โดยชี้ให้เห็นถึงข้อจํากัดของวิธีการแก้ปัญหาที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นถึงวิธีการ ที่จะนํามาใช้แก้ปัญหาหรือข้อจํากัดนั้น ซึ่งส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสําคัญ จุดเด่น และเหตุผล ที่ต้องพัฒนา
         ส่วนที่ 2 จะเป็นการรวบรวมทฤษฎีและเทคนิคที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน โดย การเขียนส่วนนี้ จะใช้แนวคิดที่ว่า หากมีนักพัฒนาคนอื่นสนใจและต้องการศึกษารายงานให้เข้าใจ หรือต้องการจะพัฒนาโครงงานที่มีลักษณะเดียวกันจะต้องศึกษาความรู้ใดเพิ่มเติมบ้าง ทั้งนี้อาจสลับ เขียนส่วนที่ 2 ก่อนส่วนที่ 1 ได้ ถ้าการทําความเข้าใจในส่วนที่ 1 ต้องใช้ความรู้และทฤษฎี จากส่วนที่ 2

บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน
         บทนี้แสดงรายการทรัพยากร เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์งบประมาณ บุคลากรที่ใช้ นอกจาก
นี้จะแสดงขั้นตอนและผลที่ได้จากการดําเนินงาน เช่น รายละเอียดของการออกแบบระบบ ผลจาก
การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ ซึ่งควรอธิบายให้มีรายละเอียดเพียงพอเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา โครงงานที่มีลักษณะเดียวกัน หรือศึกษาเพิ่มเติมได้

บทที่ 4 การทดลองและผลการทดลอง
         บทนี้แสดงให้เห็นว่า โครงงานนี้ได้ทําตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ โดยนําเสนอการทดลองและผลการทดลอง หรือสาธิตการใช้งานโปรแกรมฉพาะส่วนที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาโครงงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้


บทที่ 5 สรุปผล วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
         บทนี้เป็นการสรุปตั้งแต่ต้นจนจบว่า ปัญหาคืออะไร ใช้วิธีการใด หลังจากที่แก้ปัญหาแล้ว ประโยชน์อย่างไรใช้การทดลอง หรือพัฒนาโปรแกรมมาแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหา ทําได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อย่างไร รวมทั้งอธิบายปัญหาและอุปสรรคของโครงงานที่ได้พบ นอกจากนี้ ควรระบุถึงข้อจํากัดของโครงงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข หรือการพัฒนาต่อยอด

บรรณานุกรม
         ส่วนนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร และ/หรือเว็บไซต์ ที่ผู้พัฒนาโครงงาน ได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อนํามาพัฒนาโครงงานเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของโครงงาน และให้เกียรติเจ้าของ ข้อมูลที่นํามาอ้างอิง โดยการเขียนจะต้องถูกตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด


คู่มือการใช้งาน
        ส่วนนี้เป็นการอธิบายวิธีการใช้งานผลงานโดยละเอียด ประกอบด้วย ชื่อผลงาน คุณลักษณะ ของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลงานนั้นได้ รายการซอฟต์แวร์ที่ต้องมี ผลงานนั้นทําหน้าที่ อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และแสดงผลข้อมูลใด วิธีการใช้งาน ควรอธิบายเป็นขั้นตอนตาม
ลําดับการทํางานที่สามารถทําความเข้าใจได้ง่าย ข้อแนะนําในการใช้งาน เป็นคําแนะนําที่จะทําให้
ผลงานนั้นสามารถทํางานได้ดีที่สุด การเขียนคู่มือการใช้งานสามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ไว้ เป็นภาคผนวกของรายงานก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทํา
        ที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางในการเขียนรายงานซึ่งเป็นการเขียนรายงานในลักษณะทั่วไป
สามารถนําไป ปรับใช้กับโครงงานต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน ซึ่งสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ผู้เขียนรายงานควร ตระหนักไว้อยู่เสมอคือ ควรเขียนรายงานให้ชัดเจน ใช้ศัพท์ที่ถูกต้อง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และครอบคลุม ประเด็นสําคัญทั้งหมดของโครงงาน

—————————————————————————————————————————————————

ตัวอย่างหัวข้อในการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์


        - ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
        - ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
        - ชื่อผู้จัดทําโครงงาน ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
        - ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม
        - กิตติกรรมประกาศ
        - บทคัดย่อ
                (ไม่ใช่การเขียนบทนํา แต่เป็นการสรุปภาพรวมของข้อเสนอโครงงานทั้งหมด ว่าปัญหาที่
        นํามา แก้ไขได้แก่ปัญหาใด มีความสําคัญอย่างไร และโครงงานนี้แก้ปัญหาด้วยแนวทางไหน
        ได้ผลเป็น อย่างไร หลังจากที่พัฒนาโครงงานนี้แล้ว จะมีประโยชน์อย่างไร เช่นเดียวกับ
        การเขียนสาระสําคัญ ของโครงงานในข้อเสนอโครงงาน แต่มีผลการดําเนินงานแล้ว)

        บทที่ 1 บทนํา
                - ที่มาและความสําคัญ
                - วัตถุประสงค์
                - ขอบเขตของโครงงาน
        บทที่ 2 หลักการ
                - ทฤษฎี และงานที่เกี่ยวข้อง
                - งานที่เกี่ยวข้อง
                - หลักการและทฤษฎี
        บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน
        บทที่ 4 การทดลองและผลการทดลอง
        บทที่ 5 สรุปผล วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
        บรรณานุกรม
        คู่มือการใช้งาน
——————————————————————————————————————————
        5.2 การนําเสนอ

                การนําเสนอไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความเหมาะสม การนําเสนอ
        อาจอยู่ในรูปแบบโปรแกรม นําเสนอหรือโปสเตอร์ โดยทั่วไปแล้ว การนําเสนอควรมี
        สาระสําคัญดังนี้
                1. ข้อมูลของโครงงาน เช่น ชื่อโครงงาน ผู้จัดทํา ที่ปรึกษา รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับ
        คณะผู้จัดทํา
                2. คําอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทําโครงงาน และความ สําคัญของโครงงาน โดยอาจนํา
        เสนอด้วยตัวอย่างปัญหาของ บุคคลหรือชุมชน และผลที่เกิดจากการแก้ปัญหาด้วยโครงงาน
        อาจเลือกปัญหา และการแก้ปัญหาที่เป็นจุดเด่นของโครงงานเพื่อ ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
        หลังจากนั้นจึงนําเสนอถึงภาพรวมของ ปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหา
                3. วิธีการดําเนินงานโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สําคัญ ของโครงงานเรื่องแปลกใหม่
        หรือเรื่องที่แสดงความสามารถของ โครงงานหรือชิ้นงาน
                4. อธิบายผลลัพธ์ของโครงงาน สาธิตหรือแสดงผลที่ ได้จากการทดลอง
        ซึ่งบางครั้งการสาธิตผลงานอาจมีข้อผิดพลาด เกิดขึ้นได้จึงควรมีการบันทึกเป็นภาพนิ่งหรือ
        วีดิทัศน์ประกอบ การสาธิตไว้เพื่อแสดงให้เห็นการทํางานของโครงงานหรือชิ้นงาน
                5. สรุปผลของโครงงาน โดยกล่าวถึงสิ่งที่ดําเนินการ ในการทําโครงงาน ผลสําเร็จจาก
        การนําโครงงานไปแก้ปัญหา และอธิบายถึงข้อจํากัด รวมถึงให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
        ต่อยอด ทั้งนี้ การนําเสนอ ไม่จําเป็นที่จะเรียงหัวข้อตามรายงาน ฉบับสมบูรณ์ แต่ควรที่จะ
        ยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบ ของปัญหาวิธีการแก้ไขและผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหาที่
        ชัดเจน โดยให้เน้นไปที่ความสนใจของผู้ฟังเป็นสําคัญ เช่น การแสดง นิทรรศการผลงาน
        อาจจะเริ่มนําเสนอจากตัวอย่างปัญหาและ การแก้ปัญหาที่น่าสนใจของโครงงานก่อน เพื่อให้
        ผู้เข้าชม สนใจฟังหรือซักถาม แล้วจึงนําเสนอในส่วนอื่น ๆ ต่อไป

——————————————————————————————————————————