|
สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี ::
———————————————————————————————————————————
|
ขั้นตอนที่ 1 เขียนโปรแกรม (Source Code) |
ใช้ Editor เขียนโปรแกรมภาษาซีและทำการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c เช่น work.c เป็นต้น Editor คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรม โดยตัวอย่างของ Editor ที่นิยมนำมาใช้ในการเขียน โปรแกรมได้แก่ Notepad, Edit ของ Dos, TextPad และ EditPlus เป็นต้นการเขียนโปรแกรมสามารถ
เลือกใช้โปรแกรมใดในการเรียนโปรแกรมก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
——————————————————————————————————————————— |
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรม (Compile) |
นำ Source Code จากขั้นตอนที่ 1 มาทำการคอมไพล์ เพื่อแปลจากภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็น
ภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในขั้นตอนนี้คอมไพเลอร์จะทำการตรวจสอบ Source Code ว่าเกิด
ข้อผิดพลาดหรือไม่
Ø หากเกิดข้อผิดพลาด จะแจ้งให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมและทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่อีกครั้ง
Ø หากไม่พบข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์จะแปลไฟล์ Source Code จากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่อง
(ไฟล์นามสกุล .obj) เช่นถ้าไฟล์ Source Code ชื่อ work.c ก็จะถูกแปลไปเป็นไฟล์ work.obj ซึ่งเก็บภาษาเครื่องไว้เป็นต้น Compile เป็นตัวแปลภาษารูปแบบหนึ่ง มีหน้าที่หลักคือการแปลภาษาโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นไปเป็นภาษาเครื่อง โดยคอมไพเลอร์ของภาษาซี คือ C Compiler ซึ่งหลักการที่คอมไพเลอร์ใช้ เรียกว่า คอมไพล์ (Compile)
โดยจะทำการอ่านโปรแกรมภาษาซีทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วทำการแปลผลทีเดียว
นอกจากคอมไพเลอร์แล้ว ยังมีตัวแปลภาษาอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า อินเตอร์พรีเตอร์ การอ่านและ
แปลโปรแกรมทีละบรรทัด เมื่อแปลผลบรรทัดหนึ่งเสร็จก็จะทำงานตามคำสั่งในบรรทัดนั้น แล้วจึงทำการแปลผลตามคำสั่งในบรรทัดถัดไป หลักการที่อินเตอร์พรีเตอร์ใช้เรียกว่า อินเตอร์เพรต (Interpret)
|
ตารางเปรียบเทียบตัวแปรภาษา
|
ตัวแปลภาษา |
ข้อดี |
ข้อเสีย |
คอมไพเลอร์ |
Ø ทำงานได้เร็ว เนื่องจากทำ
การแปลผลทีเดียว แล้วจึงทำงานตามคำสั่งของโปรแกรมในภายหลัง
Ø เมื่อทำการแปลผลแล้ว ในครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องทำการแปลผลใหม่อีก เนื่องจากภาษาเครื่องที่แปลได้จะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำ สามารถเรียกใช้งานได้ทันที |
Ø เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับโปรแกรมจะตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้ยาก เพราะทำ
การแปลผลทีเดียวทั้งโปรแกรม |
อินเตอร์พรีเตอร์ |
Ø หาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย เนื่องจากทำการแปลผลทีละบรรทัด
Ø เนื่องจากทำงานทีละบรรทัด
ดังนั้นจึงสั่งให้โปรแกรมทำงานตาม
คำสั่งเฉพาะจุดที่ต้องการได้
Ø ไม่เสียเวลารอการแปลโปรแกรมเป็นเวลานาน |
Ø ช้า เนื่องจากที่ทำงานทีละบรรทัด |
|
————————————————————————————————————————————
ขั้นตอนที่ 3 เชื่อมโยงโปรแกรม (Link)
การเขียนโปรแกรมภาษาซีนั้นผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งต่าง ๆ ขึ้นใช้งานเอง เนื่องจาก ภาษาซีมีฟังก์ชันมาตรฐานให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้งานได้ เช่น การเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ "Yupparajwittayalai" ออกทางหน้าจอ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชัน printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชัน มาตรฐานของภาษาซีมาใช้งานได้ โดยส่วนการประกาศ (Declaration) ของฟังก์ชั่นมาตรฐานต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์แต่ละตัว แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน
ด้วยเหตุนี้ภาษาเครื่องที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จึงยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ แต่ต้องนำมาเชื่อมโยงเข้ากับ Library ก่อน ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะทำให้ได้ Executable Program (ไฟล์นามสกุล.exe เช่น work.exe)
ที่สามารถนำไปใช้งานได้
——————————————————————————————————————————— |
ขั้นตอนที่ 4 ประมวลผล (Run) |
เมื่อนำ Executable Program จากขั้นตอนที่ 3 มาประมวลผลก็จะได้ผลลัพธ์ (Output) ของโปรแกรมออกมา |
รูปที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี
|
ในขั้นตอนสุดท้าย โปรแกรมที่สามารถรันได้จะถูกนำเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยโปรแกรมบรรจุ (Loader) จากนั้นการรันโปรแกรมจึงเริ่มต้นขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากการรันโปรแกรมขึ้นอยู่กับ
คำสั่งในโปรแกรมที่ปรากฏอยู่ในรหัสต้นฉบับที่เขียนโปรแกรมนั่นเอง
(แหล่งข้อมูล... คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ฉบับสมบูรณ์ / อรพิน ประวัติบริสุทธิ์)
—————————————————————————————————————————————— |