สื่อวีดิทัศน์การสอน :: สรุป บทเรียนที่ 2 ผังงาน Flowchart ::
——————————————————————————————————————————
การเขียนผังงาน
ผังงาน Flowchart เป็นผังงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด และขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
อีกทั้งยังช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรแกรมทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น การเขียน Flowchart
นั้นจะใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนคำอธิบายและกระบวนการทำงานของโปรแกรมในแต่ละส่วนตั้งแต่เริ่มแรก
จนถึงสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมได้เข้าใจแนวคิด และการทำงานที่ชัดเจนมากที่สุด
——————————————————————————————————————————
สัญลักษณ์ผังงาน Flowchart
การเขียนผังงาน Flowchart นั้นได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้งานให้เป็นสากล และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรฐานนี้ได้ถูกกำหนดตามแบบของ ANSI (American National Standards Institute) และ ISO
(International Standard Organization) เพื่อสื่อความหมาย และให้เกิดความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน Flowchart ทั่วโลก โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ |
ความหมายและการใช้งาน |
Terminal |
ใช้เริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม |
Process |
ใช้ประมวลผลการทำงานของโปรแกรม |
Decision |
เพื่อกำหนดทางเลือก หรือตัดสินใจการทำงานของโปรแกรม |
Document |
ใช้เพื่อแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) |
Input |
ใช้เพื่อรับหรือแสดงผลโดยไม่กำหนดชนิดของอุปกรณ์ใน
การทำงาน |
Manual input |
ใช้เพื่อรับข้อมูลเข้ามาในระบบ เช่น ค่าของตัวแปร |
Display |
ใช้เพื่อแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ (Monitor) |
On-Page Reference |
ใช้เพื่อเชื่อมต่อการทำงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง |
Off-Page Reference |
ใช้เพื่อเชื่อมต่อผังงานที่มีความยาวมากกว่า
1 หน้า ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ |
Connector |
ใช้เชื่อมต่อระหว่างสัญลักษณ์หนึ่งไปยังอีกสัญลักษณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบการไหลและทิศทางของข้อมูล |
——————————————————————————————————————————
ประเภทของผังงาน Flowchart นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ผังงานระบบ (System Flowchart)
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
——————————————————————————————————————————
หลักการเขียนผังงาน Flowchart
1. เลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง เช่น การกำหนดค่าตัวแปรให้เลือกใช้กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจด้วยคำสั่ง if ให้เลือกใช้สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เป็นต้น
2. ใช้ลูกศรกำหนดการทำงานของโปรแกรมจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา โดยเรียงลำดับ
การทำงานของคำสั่ง ไม่ควรสลับการทำงานกัน
3. ผังงานทุกผังงานนั้นต้องมีลูกศรเข้าและออก ยกเว้นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเท่านั้น
4. ลูกศรทุกตัวต้องออกจากผังงานและชี้ที่ผังงานเสมอ
5. คำอธิบายภายในผังงานควรสั้น ๆ และเข้าใจง่าย
6. ไม่ควรใช้ลูกศรชี้ไกลเกินไป หากจำเป็นให้ใช้การเชื่อมต่อแทน
——————————————————————————————————————————
ลักษณะโครงสร้างของผังงาน Flowchart
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เป็นการเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง
(Stucture Programming) จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 รูปแบบต่อไปนี้คือ
1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence)
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision)
3. การทำซ้ำ (Loop)
——————————————————————————————————————————
ประโยชน์ของผังงาน Flowchart
1. ทำให้มองเห็นภาพของระบบและโปรแกรมได้ทั้งหมด และใช้เวลาในการเข้าใจการทำงานได้เร็วขึ้น
2. การเขียนผังงานใช้สัญลักษณ์เป็นสากล สามารถนำไปเขียนและสื่อความหมาย ความเข้าใจได้ทุกภาษา
3. ทำให้ตรวจพบข้อผิดพลาดได้ง่าย และสามารถแก้ไขจุดผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
4. หากมีการขยายงานต่อจากผังงานเดิมก็สามารถเพิ่มเติมได้ โดยอาศัยได้ดูผังงานเดิมประกอบ
จะทำให้เข้าใจได้รวดเร็วกว่าการดูรายละเอียดจากโปรแกรม หรือระบบงานเดิม
——————————————————————————————————————————