2. ฟังก์ชัน putchar( );
นอกจากฟังก์ชัน printf( ); ที่สามารถใช้แสดงผลบนจอภาพได้แล้ว ยังมีฟังก์ชัน putchar( );
ที่สามารถแสดงผลตัวอักขระทีละตัวบนจอภาพได้ โดยการใช้งานฟังก์ชันนี้จะต้องตามด้วยรหัสรูปแบบ %c
ด้วยดังรูปแบบต่อไปนี้
อธิบาย
char |
สามารถเป็นตัวอักขระที่ถูกเขียนไว้ภายในเครื่องหมาย ' '
หรืออาจจะเป็นตัวแปรแบบ Character |
ตัวอย่างโปรแกรม
คุณครูต้องการแสดงผลเกรดของนักเรียนที่ได้เกรด A และเกรด B ให้อยู่คนละบรรทัด จึงให้
นักเรียนเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผลข้อมูลดังนี้
“ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชัน putchar( ); แสดงค่าของตัวแปร text1
ชนิด Character พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ A และแสดงผลเกรด A หนึ่งบรรทัด และเกรด B
อีกหนึ่งบรรทัดบนจอภาพ”
วิเคราะห์ปัญหา (Analysis)
สิ่งที่โจทย์กำหนด :: กำหนดให้ตัวแปร text1 เก็บค่าเกรดของนักเรียน โดยใช้ Format Code
ชนิด Character พร้อมกำหนดค่าเท่ากับ A
สิ่งที่โจทย์ต้องการ :: แสดงตัวแปรด้วยฟังก์ชัน putchar( ); แสดงผลเกรด A หนึ่งบรรทัด
และเกรด B อีกหนึ่งบรรทัดบนจอภาพ
การแก้ปัญหา (Problem Solving) ตามแนวทางการคิดเชิงคำนวณ โดยการคิดแบบ "ขั้นตอนวิธี" (Algorithm) ดังนี้
Pseudo Code |
Flowchart |
Algorithm Function putchar( );
1. Start
2. char text1 = 'A'
3. Print putchar(text1);
4. Print ("\n");
5. Print putchar('B');
6. End |
|
เขียนโปรแกรม (Coding)
บรรทัดที่ |
โค้ดโปรแกรม |
1
2
3
4
5
6
7
8
|
#include <stdio.h>
char text1 = 'A';
int main( )
{
putchar(text1);
printf("\n");
putchar('B');
} |
อธิบายโค้ดโปรแกรมแต่ละบรรทัด
บรรทัดที่ 1 |
เรียกใช้งานไลบรารีฟังก์ชัน stdio.h |
บรรทัดที่ 2 |
สร้างตัวแปรชื่อ text1 ชนิด Character แบบอาร์เรย์ พร้อมกำหนดค่าเท่ากับ 'A' |
บรรทัดที่ 3 |
เข้าสู่การทำงานของโปรแกรมหลัก int main( ) |
บรรทัดที่ 4 |
เริ่มต้นของโปรแกรมหลัก int main( ) ด้วยเครื่องหมาย { |
บรรทัดที่ 5 |
ใช้ฟังก์ชัน putchar( ) แสดงตัวอักขระจากตัวแปร text1
บนจอภาพ |
บรรทัดที่ 6 |
ขึ้นบรรทัดใหม่ 1 บรรทัด |
บรรทัดที่ 7 |
ใช้ฟังก์ชัน putchar( ) แสดงตัวอักขระ B บนจอภาพ |
บรรทัดที่ 8 |
สิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมหลัก int main( ) ด้วยเครื่องหมาย } |
ผลลัพธ์บนจอภาพ
โปรแกรมจะแสดงผลเกรด A หนึ่งบรรทัด และเกรด B อีกหนึ่งบรรทัดบนจอภาพ
——————————————————————————————————————————
|