การหยุดการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น สามารถหยุดการทำงานได้หลายลักษณะด้วยกัน เช่น การหยุดการทำงานแล้วกลับไปวนรอบใหม่ หรือการหยุดการทำงานแล้วออกจากโปรแกรมหลักไปเลย
ซึ่งผู้เรียนควรเลือกใช้คำสั่งในการหยุดการทำงานให้ถูกต้อง เพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คำสั่งหยุดการทำงานนั้น มีอยู่ 3 คำสั่งด้วยกันคือ
1. |
คำสั่ง break; |
2. |
คำสั่ง continue; |
3. |
คำสั่ง exit( ); |
(แหล่งข้อมูล... คู่มือเรียนรู้ภาษาซีด้วยตนเอง / ผศ.รุ่งทิวา เสาร์สิงห์)
———————————————————————————————————————————
สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: คำสั่งหยุดการทำงาน break; ::
———————————————————————————————————————————
1. คำสั่ง break;
คำสั่ง break; เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อหยุดการทำงานของคำสั่งประเภทกำหนดทางเลือก หรือคำสั่งวนรอบ เมื่อมีการทำงานมาถึงคำสั่ง break; โปรแกรมจะออกจากการทำงานของคำสั่งประเภทกำหนดทางเลือก หรือคำสั่งวนรอบทันที
รูปแบบคำสั่ง
ตัวอย่างโปรแกรม
คุณครูต้องการให้นักเรียนแสดงค่าตัวเลขที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 แต่หากกรณีตัวเลขเท่ากับ
5 ให้แสดงข้อความ Terminal program by command break บนจอภาพ และจะออก
จากการทำงานแบบวนซ้ำทันที จึงให้นักเรียนเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผลข้อมูล ดังนี้
“ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมโดยเริ่มการวนรอบด้วยคำสั่ง do แสดงค่าของตัวแปร a ชนิด
Integer แล้วขึ้นบรรทัดใหม่แล้วเพิ่มค่าตัวแปร a ขึ้นอีก 1 ใช้คำสั่ง if ตรวจสอบเงื่อนไขว่า
ตัวแปร a มีค่าเท่ากับ 5 หรือไม่ ถ้าเป็นจริง ให้แสดงข้อความว่า Terminal program by
command break บนจอภาพ และหยุดการทำงานของการวนรอบด้วยคำสั่ง break; แล้วโปรแกรม
จะไปทำงานต่อไป โดยใช้คำสั่ง while
เพื่อกำหนดเงื่อนไขและตรวจสอบว่า ตัวแปร a มีค่าน้อยกว่า
หรือเท่ากับ 10 หรือไม่ ถ้าไม่ให้แสดงข้อความ End program บนจอภาพ”
วิเคราะห์ปัญหา (Analysis)
สิ่งที่โจทย์กำหนด :: กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร a=1 โดยใช้ Format Code ชนิด Integer
กำหนดการวนรอบด้วยคำสั่ง do กำหนดเพิ่มค่าตัวแปร a ขึ้นอีก 1 กำหนดคำสั่ง if ตรวจสอบเงื่อนไข
ว่าตัวแปร a มีค่าเท่ากับ 5 หรือไม่ กำหนดการหยุดการทำงานของการวนรอบด้วยคำสั่ง break; แล้ว
โปรแกรมจะไปทำงานต่อไป กำหนดคำสั่ง while เพื่อกำหนดเงื่อนไขและตรวจสอบว่าตัวแปร a มีค่า
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 หรือไม่
สิ่งที่โจทย์ต้องการ :: แสดงค่าของตัวแปร a และแสดงข้อความ End program บนจอภาพ
การแก้ปัญหา (Problem Solving) ตามแนวทางการคิดเชิงคำนวณ โดยการคิดแบบ "ขั้นตอนวิธี" (Algorithm) ดังนี้
Pseudo Code |
Algorithm break;
1. Start
2. int a=1
3. do
3.1 Print a
3.2 a++
3.3 if (a == 5)
3.3.1 Print Terminal program by command break
3.3.2 break;
4. while (a<=10)
4.1. Print End program
5. End
|
Flowchart |
|
เขียนโปรแกรม (Coding)
บรรทัดที่ |
โปรแกรม |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
|
#include <stdio.h>
int a;
int main( )
{ a=1;
do { printf("%d \n",a); a++;
if (a == 5) { printf("Terminal program by command break \n"); break; } } while (a<=10);
printf("End program");
} |
อธิบายโปรแกรม
บรรทัดที่ 1 |
เรียกใช้งานไลบรารี stdio.h |
บรรทัดที่ 2 |
กำหนดตัวแปร a ให้เป็นแบบ Integer |
บรรทัดที่ 3 |
กำหนดคำสั่ง int main( ) เริ่มการทำงาน |
บรรทัดที่ 4 |
ใช้เครื่องหมาย { เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของคำสั่ง int main( ) |
บรรทัดที่ 5 |
กำหนดค่าตัวแปร a เท่ากับ 1 |
บรรทัดที่ 6 |
เริ่มการวนรอบด้วยคำสั่ง do |
บรรทัดที่ 7 |
เริ่มการทำงานตามคำสั่ง do ด้วยเครื่องหมาย { ในรอบแรก |
บรรทัดที่ 8 |
แสดงค่าของตัวแปร a แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ |
บรรทัดที่ 9 |
เพิ่มค่าตัวแปร a ขึ้นอีก 1 |
บรรทัดที่ 10 |
ใช้คำสั่ง if ตรวจสอบเงื่อนไขว่าตัวแปร a มีค่าเท่ากับ 5 หรือไม่ |
บรรทัดที่ 11 |
ถ้าเป็นจริง ก็จะเริ่มการทำงานของ if ด้วยเครื่องหมาย { |
บรรทัดที่ 12 |
แสดงข้อความ Terminal program by command break บนจอภาพ |
บรรทัดที่ 13 |
หยุดการทำงานของการวนรอบด้วยคำสั่ง break; แล้วโปรแกรมจะไปทำงานต่อยังบรรทัดที่ 18 ต่อไป |
บรรทัดที่ 14 |
สิ้นสุดการทำงานของคำสั่ง if ด้วยเครื่องหมาย } |
บรรทัดที่ 15 |
สิ้นสุดการทำงานของคำสั่ง do-while ด้วยเครื่องหมาย } |
บรรทัดที่ 16 |
ใช้คำสั่ง while เพื่อกำหนดเงื่อนไขและตรวจสอบว่า ตัว แปร a มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 หรือไม่ |
บรรทัดที่ 17 |
แสดงข้อความ End program บนจอภาพ |
บรรทัดที่ 18 |
ใช้เครื่องหมาย } เพื่อบอกจุดสิ้นสุดของคำสั่ง int main( ) |
ผลลัพธ์บนจอภาพ
โปรแกรมจะแสดงค่าตัวเลขที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 แต่ถ้าตัวเลขเท่ากับ 5
ให้แสดงข้อความ Terminal program by command break และข้อความ End program
บนจอภาพ
1
2
3
4
Terminal program by command break
Eng program |
|