3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
โดยทั่วไป การทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
3.1 กำหนดขอบเขตงาน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารวิชาการ เพื่อนำมากำหนดขอบเขต ลักษณะ
และแนวทางในการวางแผนจัดทำโครงงาน
3.2 การออกแบบการพัฒนา
การออกแบบพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตัวแปล ภาษา
และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้กำหนด คุณลักษณะของผลงาน ระบุเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้ง
กำหนดตารางการปฏิบัติงาน
3.3 พัฒนาโครงงานขั้นต้น
การพัฒนาโครงงานขั้นต้น เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
โดยอาจทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำผลจากการปฏิบัติไปปรับปรุง
แผนการปฏิบัติงานที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เสนอ
โครงงานที่ต้องการตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงงานและหลักการ
3.4 จัดทำและเสนอข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
เขียนข้อเสนอโครงงานนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่ออาจารย์ที่ปรึกษาจะได้แนะนำ
ในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่าง
ราบรื่น
[..Download แบบฟอร์มการเขียนแบบเสนอโครงงาน..]
———————————————————————————————————————————
4. การลงมือพัฒนาโครงงาน
เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า 50% ขั้นต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
4.1 การเตรียมการ
ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่น ๆ ที่จะใช้ในการทดลอง
พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึก
หรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่
อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
4.2 การลงมือพัฒนา
4.2.1 ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้า
พบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
4.2.2 จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้แล้วเสร็จก่อนจึงค่อยทำส่วน
ที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกัน
ทำให้ทำความตกลงในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
4.2.3 พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ
และครบถ้วน
4.2.4 คำนึงถึงความประหยัด ความปลอดภัย และระยะเวลาในการทำงาน
4.3 การตรวจสอบผลงานและแก้ไข
การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนา
ขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
4.4 การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม
เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย
เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่
ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบ
การอภิปรายผลที่ได้ด้วย
4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้เรียนอาจพบข้อสังเกตประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา
ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
———————————————————————————————————————————
|