5. การจัดทำรายงาน
เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งานรายงาน
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
เกี่ยวกับโครงงานในการเขียนรายงานนั้น
ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ
ประกอบด้วย
1.1 ปกนอก
1.2 ใบรองปก
1.3 ปกใน
1.4 บทคัดย่อ
1.5 กิตติกรรมประกาศ
1.6 สารบัญ
1.7 คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ (ถ้ามี)
2. ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนนี้กำหนดให้ทำแบบเป็นบท จำนวน 5 บท ประกอบด้วย
2.1 บทที่ 1 บทนำ
2.2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.3 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
2.4 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
2.5 บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน/อภิปรายผลการดำเนินงาน
3. ส่วนอ้างอิง
เป็นส่วนท้ายของรายงานโครงงาน ประกอบด้วย รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
และ
ภาคผนวก
3.1 รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
3.2 ภาคผนวก
3.3 คู่มือการใช้งาน (ถ้ามี)
หากโครงงานที่ผู้เรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้ผู้เรียนจัดทำคู่มือ
อธิบาย
วิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
- ชื่อผลงาน
- ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้ามี) ระบุรายละเอียดของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
- ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ถ้ามี) ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
- คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็น
ข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก
- วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด
- ข้อแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลงานนั้นสามารถทำงานได้ดีที่สุด
คู่มือการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือใส่ไว้เป็นภาคผนวกของ
รายงานฉบับสมบูรณ์ก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียน
รายงานซึ่งเป็นการเขียนรายงานในลักษณะทั่ว ๆ ไป รูปแบบดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะสมกับ
โครงงานบางประเภทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้เขียน
รายงานควรตระหนักไว้อยู่เสมอคือควรเขียนรายงานให้ชัดเจน ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงาน
———————————————————————————————————————————
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน
เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงผลงาน โดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการ โดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1) ชื่อโครงงาน
2) ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4) คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5) วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6) การสาธิตผลงาน
7) ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน
———————————————————————————————————————————
ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้
1) จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็นระบบ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย
2) ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายให้ดี รวมถึงเตรียมข้อมูลที่อาจต้องใช้ในการตอบคำถาม
3) หลีกเลี่ยงการนำเสนอด้วยวิธีอ่านรายงาน
4) ควรมองไปยังผู้ฟังขณะรายงาน
5) ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา
6) รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
7) ควรใช้โปรแกรมนำเสนอประกอบการรายงาน
8) ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง
9) ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรจะอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี
———————————————————————————————————————————
การแสดงผลงานในรูปแบบของนิทรรศการ
การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัย
และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนบุคลากร
ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
——————————————————————————————————————————— |