2. การศึกษาและกําหนดขอบเขตของปัญหา
          การพัฒนาโครงงานนั้น ควรที่จะต้องศึกษาถึงที่มาและความสําคัญของ โครงงาน ว่าโครงงานนั้นแก้ปัญหาอะไร และหากแก้ปัญหา แล้ว ได้ประโยชน์อะไรกับใครบ้าง รวมทั้งแนวทางในการ แก้ปัญหานั้นมีความแปลกใหม่ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงเทคนิคใด บ้าง หลังจากนั้น ควรระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงงาน ให้ชัดเจนว่าต้องการพัฒนาอะไรแก้ปัญหาในมุมใด และควร ที่จะต้องกําหนดแนวทางและขอบเขตของโครงงาน ว่าจะ แก้ปัญหาในส่วนใดบ้าง ใช้ความรู้และทรัพยากรใดบ้างแล้ว จึงประเมินระยะเวลาและงบประมาณของโครงงาน ว่า โครงงานดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาและงบประมาณเท่าใด โดย มีรายละเอียดในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
———————————————————————————————————————————
          2.1 การศึกษาที่มาและความสําคัญของโครงงาน

                    คุณค่าของโครงงานที่เราจะพัฒนาขึ้นอยู่กับความ สําคัญของปัญหานั้น ๆ จึงต้องระบุ
          ให้ได้ว่า ปัญหาที่จะแก้มี ความสําคัญอย่างไร มีความรุนแรงแค่ไหน หากแก้ปัญหานั้นแล้วจะ
          ได้ประโยชน์อย่างไรการระบุที่มาและความสําคัญ ควรเริ่มต้นจากการ อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น
          โดยต้องระบุให้เห็นภาพว่า มีปัญหา เกิดขึ้นจริง ผลกระทบของปัญหามีความสําคัญ และ
          ปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอ ซึ่งหาก เป็นปัญหาที่เข้าใจ
          ยาก เช่น ปัญหาเฉพาะทางแล้ว ควรที่จะ อธิบายในส่วนนี้ให้ชัดเจน อาจมีการยกตัวอย่าง           หรือมีภาพประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจทั้งนี้การระบุถึงความสําคัญ ความรุนแรงของปัญหา
          รวมทั้งการระบุแนวทางการแก้ปัญหา ที่เหมาะสมนั้น ควรมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่า
          เชื่อถือ เช่น การระบุถึงความสําคัญของปัญหาสังคมผู้สูงอายุอาจอ้างอิงข้อมูลจํานวนผู้สูงอายุ
          จากสํานักงานสถิติแห่งชาติ
         
          หลังจากที่ได้ระบุที่มาและความสําคัญของ ปัญหาแล้วควรนําผลการศึกษาและ
          วิเคราะห์การแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่มีอยู่ว่ามีข้อดีและข้อจํากัดอย่างไร มาอธิบาย
          โดยเน้นที่ข้อจํากัดของวิธี แก้ปัญหาเดิม เพื่อใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนในการพัฒนาโครงงาน
         
          จากนั้น ให้กล่าวถึงภาพรวมของโครงงาน โดยระบุให้ชัดเจนว่า โครงงานนี้
          ต้องการพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาใด ด้วยวิธีใด และบรรยายวิธีการ แก้ปัญหาที่เลือกใช้
          ซึ่งจะต้องมีการอ้างอิงทฤษฎีที่ เกี่ยวข้อง หรือแนวทางที่มีการพัฒนามาแล้ว เพื่อให้ เห็นภาพ
          ว่าโครงงานนี้จะสําเร็จออกมาในรูปแบบใด มีการต่อยอดหรือลดข้อจํากัดของวิธี
          การเดิมอย่างไร
         
          เรื่องสุดท้ายที่ควรระบุในที่มาและความ สําคัญคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่
          พัฒนาโครงงานสําเร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อตนเอง สังคม หรือจะเป็นคุณค่าในเชิง
          วิชาการอย่างไร
———————————————————————————————————————————
          2.2 การระบุวัตถุประสงค์ของโครงงาน

         
          ในข้อนี้ เป็นการระบุว่าโครงงานนี้จะทําอะไร ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร เช่น โปรแกรม
          ขั้นตอนวิธี หรือ องค์ความรู้ใหม่ ในการระบุวัตถุประสงค์ควรเริ่มต้นประโยคที่ระบุสิ่งที่จะทําให้
          ชัดเจน เช่น "เพื่อศึกษาควา เป็นไปได้" "เพื่อสร้างต้นแบบในการ..." การเขียนวัตถุประสงค์
          นั้นต้องคํานึงไว้เสมอว่า วัตถุประสงค์แต่ละข้อต้องวัดผลได้ไม่ว่าจะเป็นกา วัดผลในด้าน
          ประสิทธิภาพ จากการทดลอง หรือแบบสํารวจ เช่น ควรเขียนว่า ระบบจะระบุตําแหน่ง
          ผู้สูงอายุได้พร้อมกัน 30 คน หรือ ระบบจะสามารถระบุตําแหน่งของผู้สูงอายุได้ภายใน
          3 วินาที เพื่อที่สามารถวัดผลได้เมื่อการพัฒนาโครงงานเสร็จสิ้น ไม่ควรเขียนว่า ระบบ
          จะระบุตําแหน่งผู้สูงอายุได้พร้อมก็ จํานวนมาก หรือ ระบบจะสามารถระบุตําแหน่งของผู้สูงอายุ
          ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคําว่าจํานวนมาก หา รวดเร็วอาจมีการแปลความหมายต่างกันได้
          หลักการที่ควรคํานึงถึง คือ ควรหลีกเลี่ยงคําคณศัพท์ที่ไม่สามา วัดค่าเป็นตัวเลขได้ ตัวอย่าง
          การเขียนวัตถุประสงค์ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการระบุวัตถุประสงค์
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน
สามารถรองรับผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม สามารถรองรับผู้ใช้งานได้อย่างน้อย 10 คนต่อชั่วโมง
เว็บเพจสามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เว็บเพจสามารถแสดงผลได้ภายใน 3 วินาที
ระบุตําแหน่งได้อย่างแม่นยํา มีความคลาดเคลื่อนในการระบุตําแหน่งได้ไม่เกิน 1 เมตร
———————————————————————————————————————————
          2.3 การระบุแนวทางและขอบเขตของโครงงาน
                    การพัฒนาโครงงานที่ดีนั้น ควรกําหนดขอบเขตสิ่งที่จะทําหรือไม่ทําให้ชัดเจน เพราะ
          แม้ว่าจะเป็น ปัญหาเดียวกัน โครงงานที่พัฒนาแต่ละโครงงาน อาจจะแก้ปัญหาจากคนละด้าน
          เช่น ปัญหาการเดิน พลัดหลงของผู้สูงอายุ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยการระบุขอบเขตโครงงาน
          ในส่วนที่ต้องทํา สามารถระบุได้ ไม่ยากนัก แต่ส่วนที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของโครงงานมี
          จํานวนมาก จึงต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อให้คนทั่วไป เข้าใจได้ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันบน
          อุปกรณ์เคลื่อนที่ อาจระบุว่า จะสามารถทํางานบนระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่ไม่
          สามารถทํางานบนระบบปฏิบัติการไอโอเอสได้ ซึ่งการเขียนส่วนนี้ ต้องอาศัย ประสบการณ์           หรือผู้มีความเชี่ยวชาญมาช่วยตรวจทาน
                    การเขียนแนวทางและขอบเขตของโครงงานนี้ ควรเริ่มจากการอธิบายภาพรวมของ
          โครงงาน อาจใช้สตอรีบอร์ด (Storyboard) อธิบายถึงขั้นตอนการทํางานของระบบ
          รวมทั้งอาจใช้ภาพ แผนผัง แบบจําลอง หรือโปรแกรมอื่น ๆ มาช่วยอธิบายให้เห็น
          ขั้นตอนการทํางานของโครงงานที่จะพัฒนาโดยในส่วนนี้ ควรระบุถึงเทคนิคและเทคโนโลยีที่
          ใช้เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของระบบ
                    หลังจากที่อธิบายการทํางานของระบบ รวมถึงเทคนิค เทคโนโลยี และเครื่องมือที่ใช้
          ในการพัฒนา แล้ว ก็จะเป็นการระบุรายละเอียดการทํางานของโครงงานที่จะพัฒนา สําหรับ
          โครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น อาจกําหนดรายละเอียดของงานหรือโปรแกรมที่จะ
          พัฒนา (task/software specification) ว่าจะใช้และแสดงผลเป็นข้อมูลใดบ้าง (input/output
          specification) หลังจากนั้นจะเป็นการอธิบาย โครงสร้างระบบหรือแผนการดําเนินงาน โดยให้
          รายละเอียดของขอบเขตและข้อจํากัดของโครงงานที่จะ พัฒนาอย่างชัดเจน
                    การระบุแนวทางและขอบเขตของโครงงาน จะช่วยให้ทราบว่าการพัฒนาโครงงานนี้
          ต้องศึกษา - ความรู้หรือเทคนิคใด รวมทั้งต้องจัดหาทรัพยากรใดเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้
          การพัฒนาโครงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
———————————————————————————————————————————
          2.4 ประเมินทรัพยากรที่ใช้ในโครงงาน

                    การประเมินทรัพยากรที่ใช้ในโครงงาน จะทําการประเมินทั้งงบประมาณและระยะเวลา
          ของโครงงาน ซึ่งการประเมินงบประมาณที่ได้จากการประเมินการจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ
          ทั้งในด้านของ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างทําส่วนประกอบหรือจัดเก็บ
          ข้อมูล ส่วนการประเมินระยะ เวลาของโครงงานนั้น ทําได้โดยแบ่งโครงงานเป็นกิจกรรมย่อย
          ประเมินเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม แล้ว จึงมาทําการวางแผนผังในการดําเนินกิจกรรม
          เพื่อประเมินระยะเวลาในภาพรวม
                    ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในหัวข้อ 2.2 และ 2.3 จะถูกนํามาใช้ 2 รอบโดยรอบแรก
          จะเป็นการ เขียนเอกสารข้อเสนอโครงงานซึ่งเป็นการเขียนข้อมูลที่รวบรวบได้ก่อนที่จะลงมือ
          ทําโครงงาน โดยจุดประสงค์เพื่อขออนุมัติหรือขอทุนสนับสนุนเพื่อทําโครงงานสิ่งสําคัญที่ต้อง
          ระบุให้ได้ในรอบนี้คือ ปัญหาและมุมของปัญหาที่โครงงานนี้จะดําเนินการแก้ไขประโยชน์ของ
          โครงงานและพัฒนาได้จริงในงบประมาณ และเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งโครงงานนี้มีแนวทาง
          การแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ หรือเป็นการสร้างองค์ความรู้ ใหม่ที่น่าสนใจในรอบสอง ข้อมูลเหล่า
          นี้จะเป็นส่วนสําคัญในการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ในบทที่ 1-3 โดย เนื้อหาการเขียนจะเป็น
          ข้อมูลที่ได้หลังจากการพัฒนาเสร็จ ว่าใช้งบประมาณและเวลาเท่าใด ได้นํา แนวทางใดไปแก้
          ปัญหา แล้วได้ผลลัพธ์ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ และได้แนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา หรือได้
          องค์ความรู้ใหม่ใดบ้าง


———————————————————————————————————————————