2. การศึกษาและกําหนดขอบเขตของปัญหา
          การพัฒนาโครงงานนั้น ควรที่จะต้องศึกษาถึงที่มาและความสําคัญของ โครงงาน ว่าโครงงานนั้นแก้ปัญหาอะไร และหากแก้ปัญหา แล้ว ได้ประโยชน์อะไรกับใครบ้าง รวมทั้งแนวทางในการ แก้ปัญหานั้นมีความแปลกใหม่ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงเทคนิคใด บ้าง หลังจากนั้น ควรระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงงาน ให้ชัดเจนว่าต้องการพัฒนาอะไรแก้ปัญหาในมุมใด และควร ที่จะต้องกําหนดแนวทางและขอบเขตของโครงงาน ว่าจะ แก้ปัญหาในส่วนใดบ้าง ใช้ความรู้และทรัพยากรใดบ้างแล้ว จึงประเมินระยะเวลาและงบประมาณของโครงงาน ว่า โครงงานดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาและงบประมาณเท่าใด โดย มีรายละเอียดในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
          2.1 การศึกษาที่มาและความสําคัญของโครงงาน

                    คุณค่าของโครงงานที่เราจะพัฒนาขึ้นอยู่กับความ สําคัญของปัญหานั้น ๆ จึงต้องระบุ
          ให้ได้ว่า ปัญหาที่จะแก้มี ความสําคัญอย่างไร มีความรุนแรงแค่ไหน หากแก้ปัญหานั้นแล้วจะ
          ได้ประโยชน์อย่างไรการระบุที่มาและความสําคัญ ควรเริ่มต้นจากการ อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น
          โดยต้องระบุให้เห็นภาพว่า มีปัญหา เกิดขึ้นจริง ผลกระทบของปัญหามีความสําคัญ และ
          ปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอ ซึ่งหาก เป็นปัญหาที่เข้าใจ
          ยาก เช่น ปัญหาเฉพาะทางแล้ว ควรที่จะ อธิบายในส่วนนี้ให้ชัดเจน อาจมีการยกตัวอย่าง           หรือมีภาพประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจทั้งนี้การระบุถึงความสําคัญ ความรุนแรงของปัญหา
          รวมทั้งการระบุแนวทางการแก้ปัญหา ที่เหมาะสมนั้น ควรมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่า
          เชื่อถือ เช่น การระบุถึงความสําคัญของปัญหาสังคมผู้สูงอายุอาจอ้างอิงข้อมูลจํานวนผู้สูงอายุ
          จากสํานักงานสถิติแห่งชาติ
         
          หลังจากที่ได้ระบุที่มาและความสําคัญของ ปัญหาแล้วควรนําผลการศึกษาและ
          วิเคราะห์การแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่มีอยู่ว่ามีข้อดีและข้อจํากัดอย่างไร มาอธิบาย
          โดยเน้นที่ข้อจํากัดของวิธี แก้ปัญหาเดิม เพื่อใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนในการพัฒนาโครงงาน
         
          จากนั้น ให้กล่าวถึงภาพรวมของโครงงาน โดยระบุให้ชัดเจนว่า โครงงานนี้
          ต้องการพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาใด ด้วยวิธีใด และบรรยายวิธีการ แก้ปัญหาที่เลือกใช้
          ซึ่งจะต้องมีการอ้างอิงทฤษฎีที่ เกี่ยวข้อง หรือแนวทางที่มีการพัฒนามาแล้ว เพื่อให้ เห็นภาพ
          ว่าโครงงานนี้จะสําเร็จออกมาในรูปแบบใด มีการต่อยอดหรือลดข้อจํากัดของวิธี
          การเดิมอย่างไร
         
          เรื่องสุดท้ายที่ควรระบุในที่มาและความ สําคัญคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่
          พัฒนาโครงงานสําเร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อตนเอง สังคม หรือจะเป็นคุณค่าในเชิง
          วิชาการอย่างไร
          2.2 การระบุวัตถุประสงค์ของโครงงาน

         
          ในข้อนี้ เป็นการระบุว่าโครงงานนี้จะทําอะไร ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร เช่น โปรแกรม
          ขั้นตอนวิธี หรือ องค์ความรู้ใหม่ ในการระบุวัตถุประสงค์ควรเริ่มต้นประโยคที่ระบุสิ่งที่จะทําให้
          ชัดเจน เช่น "เพื่อศึกษาควา เป็นไปได้" "เพื่อสร้างต้นแบบในการ..." การเขียนวัตถุประสงค์
          นั้นต้องคํานึงไว้เสมอว่า วัตถุประสงค์แต่ละข้อต้องวัดผลได้ไม่ว่าจะเป็นกา วัดผลในด้าน
          ประสิทธิภาพ จากการทดลอง หรือแบบสํารวจ เช่น ควรเขียนว่า ระบบจะระบุตําแหน่ง
          ผู้สูงอายุได้พร้อมกัน 30 คน หรือ ระบบจะสามารถระบุตําแหน่งของผู้สูงอายุได้ภายใน
          3 วินาที เพื่อที่สามารถวัดผลได้เมื่อการพัฒนาโครงงานเสร็จสิ้น ไม่ควรเขียนว่า ระบบ
          จะระบุตําแหน่งผู้สูงอายุได้พร้อมก็ จํานวนมาก หรือ ระบบจะสามารถระบุตําแหน่งของผู้สูงอายุ
          ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคําว่าจํานวนมาก หา รวดเร็วอาจมีการแปลความหมายต่างกันได้
          หลักการที่ควรคํานึงถึง คือ ควรหลีกเลี่ยงคําคณศัพท์ที่ไม่สามา วัดค่าเป็นตัวเลขได้ ตัวอย่าง
          การเขียนวัตถุประสงค์ ดังตารางที่
1

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการระบุวัตถุประสงค์
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน
สามารถรองรับผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม สามารถรองรับผู้ใช้งานได้อย่างน้อย 10 คนต่อชั่วโมง
เว็บเพจสามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เว็บเพจสามารถแสดงผลได้ภายใน 3 วินาที
ระบุตําแหน่งได้อย่างแม่นยํา มีความคลาดเคลื่อนในการระบุตําแหน่งได้ไม่เกิน 1 เมตร

———————————————————————————————————————————