สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา แล้วส่งผลลัพธ์กลับคืน ::
———————————————————————————————————————————
3. ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา แล้วส่งผลลัพธ์กลับคืน
ฟังก์ชันชนิดนี้ เป็นฟังก์ชันที่จะต้องมีการนำค่าตัวแปรเข้ามาประมวลผลในฟังก์ชัน และเมื่อประมวลผลได้คำตอบแล้ว จะต้องมีการส่งค่าของผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้กลับออกไปสู่โปรแกรมหลัก
(Main Program) หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่เรียกมา โดยการส่งค่ากลับออกไปนั้น จะต้องมีการเขียนคำสั่งในรูปแบบ ดังนี้
Variable = Function_Name(arg1,arg2,argN) |
อธิบายความหมาย
Variable |
คือ ตัวแปรที่ต้องการรับค่าที่ส่งกลับออกมาจากฟังก์ชัน |
Function_Name |
คือ ชื่อของฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา แล้วส่งผลลัพธ์กลับคืน |
arg1,arg2,argN |
คือ ค่าที่รับเข้ามาเพื่อประมวลผล ซึ่งจะมีกี่จำนวนก็ได้อย่างน้อยจะต้องมี 1 ค่า |
ตัวอย่างโปรแกรม
คุณครูต้องการคำนวณหาภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat 7% จากการซื้อสินค้า เพื่อใช้ในการแข่งขัน
งานศิลปหัตกรรมนักเรียนเป็นจำนวนเงิน 100 บาท จึงให้นักเรียนเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผลข้อมูล
ดังนี้
“ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชัน main( ) แสดงข้อความ Vat 7 Percent =
ตามด้วยค่าของการคำนวณหาภาษี vat = vat7(100) คือการเสียเงินซื้อสินค้าจำนวนเงิน 100 บาท
ตามด้วยข้อความ Baths บนจอภาพ โดยค่าตัวแปร vat ใช้ Format Code ชนิด Float จากการเรียก
ฟังก์ชัน vat7(float money) โดยมีตัวแปร x ที่เก็บค่าผลลัพธ์จากการคำนวณหาภาษี
โดยใช้ Format Code ชนิด Float และการคำนวณหาภาษีจากสูตร x = (money*7) แล้วส่งค่า x
ออกมายังฟังก์ชัน main( )”
วิเคราะห์ปัญหา (Analysis)
สิ่งที่โจทย์กำหนด :: กำหนดให้ฟังก์ชัน vat7(float money)
มีค่าตัวแปร x ที่เก็บผลลัพธ์ของ
การคำนวณภาษี x = (money*7) / 100; โดยใช้ Format Code ชนิด Float แล้วส่งค่า x
ออกมายังฟังก์ชัน main( ) กำหนดให้ฟังก์ชัน main( ) มีค่าตัวแปร money เก็บจำนวนเงินที่ซื้อ
สินค้า และ vat เก็บผลลัพธ์ของการคำนวณภาษีโดยใช้ Format Code ชนิด Float แล้วมีการ
คำนวณหาภาษี vat = vat7(100) จากการเรียกใช้ฟังก์ชัน vat7(100) จากการซื้อสินค้า
เป็นจำนวนเงิน 100 บาท
สิ่งที่โจทย์ต้องการ :: ภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat 7% จากการซื้อสินค้า
เพื่อใช้ในการแข่งขัน
งานศิลปหัตกรรมนักเรียนเป็นจำนวนเงิน 100 บาท
การแก้ปัญหา (Problem Solving) ตามแนวทางการคิดเชิงคำนวณ โดยการคิดแบบ "ขั้นตอนวิธี" (Algorithm) ดังนี้
Pseudo Code |
Flowchart |
Algorithm Function vat7(float money)
1. Start
2. float x
3. x = (money*7) / 100
4. return(x);
5. End |
|
Algorithm Function main( )
1. Start
2. float money,vat;
3. vat = vat7(100);
4. Print ("Vat 7 Percent = %.2f Baths \n ",vat);
5. End
|
|
เขียนโปรแกรม (Coding)
บรรทัดที่ |
โปรแกรม |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
|
#include <stdio.h>
float vat7(float money)
{
float x;
x = (money*7) / 100;
return(x);
}
int main( )
{
float money,vat;
vat = vat7(100);
printf("Vat 7 Percent = %.2f Bahts \n ",vat);
} |
อธิบายโปรแกรม
บรรทัดที่ 1 |
กำหนดใช้งานไลบรารีชื่อ stdio.h |
บรรทัดที่ 2 |
ประกาศฟังก์ชันชื่อ vat7 โดยมีการรับค่าเข้ามา 1 ค่า |
บรรทัดที่ 3 |
จุดเริ่มต้นฟังก์ชัน vat7 |
บรรทัดที่ 4 |
ประกาศตัวแปรประเภท float ชื่อ x |
บรรทัดที่ 5 |
กำหนดให้ตัวแปร x = money * 7 แล้วหารด้วย 100 |
บรรทัดที่ 6 |
ส่งค่าตัวแปร x กลับออกไป |
บรรทัดที่ 7 |
สิ้นสุดการทำงานฟังก์ชัน vat7 |
บรรทัดที่ 8 |
กำหนดคำสั่งโปรแกรมหลัก int main( ) |
บรรทัดที่ 9 |
เริ่มชุดคำสั่งโปรแกรมหลัก int main ( ) ด้วยเครื่องหมาย { |
บรรทัดที่ 10 |
กำหนดตัวแปร money และ vat เป็นชนิด float |
บรรทัดที่ 11 |
กำหนดค่าตัวแปร vat ให้มีค่าเท่ากับผลลัพธ์ที่เกิดจากฟังก์ชัน vat7
โดยการรับค่า 100 เข้าไปประมวลผล |
บรรทัดที่ 12 |
แสดงข้อความ Vat 7% ตามด้วยการแสดงผลลัพธ์เป็นเลขทศนิยม 2 ตำแหน่งของตัวแปร vat |
บรรทัดที่ 13 |
ส่วนปิดของโปรแกรม int main( ) ด้วยเครื่องหมาย } |
ผลลัพธ์บนจอภาพ
เมื่อทำการทดสอบการทำงานของฟังก์ชัน โดยที่ในโปรแกรมมีการส่งค่า 100 เข้าไป
ประมวลผลในฟังก์ชัน vat7 ก็จะทำให้ได้คำตอบคือ 7 บาท
|