การรับส่งค่าของฟังก์ชัน 1
         การรับส่งค่าของฟังก์ชัน หากแบ่งตามการรับส่งค่านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

1.
ฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่า
2.
ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา
3.
ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา แล้วส่งผลลัพธ์กลับคืน

(แหล่งข้อมูล...  คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับผู้เริ่มต้น / ประภาพร ช่างไม้)

———————————————————————————————————————————

สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: ฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่า ::

——————————————————————————————————————————— 

1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่า 1
       ฟังก์ชันชนิดนี้ถือเป็นฟังก์ชันที่เขียนใช้งานง่ายที่สุด และไม่มีความซับซ้อน เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่า
ตัวแปรใด ๆ เข้ามาในฟังก์ชัน และไม่มีการส่งค่าใด ๆ กลับออกไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้กับงานประเภทแสดงข้อความซ้ำ ๆ

       ตัวอย่างโปรแกรม
              คุณครูต้องการให้นักเรียนแสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วย ชื่อจริงของนักเรียนในบรรทัด
       แรก บรรทัดที่สองให้แสดงข้อความว่า Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของบิดาของนักเรียน บรรทัดที่
       สาม แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของมารดาของนักเรียน เช่น บรรทัดแรก
       แสดงข้อความ Hello, Khun Thaphisit บรรทัดที่สอง
แสดงข้อความ Hello, Khun Khunyodying
       บรรทัดที่สาม แสดงข้อความ Hello, Khun Jittipon  บนจอภาพ จึงให้นักเรียนเขียนโปรแกรม
       เพื่อแสดงผลข้อมูล ดังนี้
              “ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชัน hello( ) แสดงข้อความว่า Hello , Khun และใช้
       ฟังก์ชัน main( )  เรียกใช้ฟังก์ชัน hello( ) ในการแสดงข้อความ Hello, Khun  ตามด้วยชื่อจริง
       ของนักเรียน ในบรรทัดแรก   จากนั้นบรรทัดที่สอง ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริง
       ของบิดานักเรียน  และบรรทัดที่สาม ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของมารดานักเรียน
       เช่น บรรทัดแรก แสดงข้อความว่า Hello, Khun Thaphisit บรรทัดที่สอง แสดงข้อความ
       Hello, Khun Khunyodying บรรทัดที่สาม แสดงข้อความ Hello, Khun Jittipon บนจอภาพ”


       วิเคราะห์ปัญหา (Analysis)
              สิ่งที่โจทย์กำหนด :: กำหนดให้ฟังก์ชัน hello( ) แสดงข้อความ Hello , Khun และกำหนดให้
       ฟังก์ชัน main( ) เรียกใช้ฟังก์ชัน hello( )  ในการแสดงข้อความ Hello, Khun  ตามด้วยชื่อจริง
       ของนักเรียนในบรรทัดแรก จากนั้นบรรทัดที่สอง ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของ
       บิดานักเรียน และบรรทัดที่สาม ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของมารดานักเรียน
       เช่น บรรทัดแรก แสดงข้อความ Hello, Khun Thaphisit บรรทัดที่สอง แสดงข้อความ Hello, Khun
       Khunyodying  บรรทัดที่สาม แสดงข้อความ Hello, Khun Jittipon บนจอภาพ
              สิ่งที่โจทย์ต้องการ :: แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของนักเรียน ในบรรทัด
       แรก ส่วนบรรทัดที่สอง ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของบิดานักเรียน และบรรทัดที่
       สาม ให้แสดงข้อความ Hello, Khun ตามด้วยชื่อจริงของมารดานักเรียน เช่น บรรทัดแรก แสดง
       ข้อความ Hello, Khun Thaphisit บรรทัดที่สอง แสดงข้อความ Hello, Khun Khunyodying
       บรรทัดที่สาม แสดงข้อความ Hello, Khun Jittipon บนจอภาพ


       การแก้ปัญหา (Problem Solving) ตามแนวทางการคิดเชิงคำนวณ โดยการคิดแบบ "ขั้นตอนวิธี" (Algorithm) ดังนี้

Pseudo Code
Flowchart
Algorithm Function hello( )
  1. Start
  2. Print Hello , Khun
  3. End
Algorithm Function main( )
  1. Start
  2. Call Function hello( );
  3. Print ("Thaphisit \n");
  4. Call Function hello( );
  5. Print ("Khunyodying \n");
  6. Call Function hello( );
  7. Print ("Jittipon \n");
  8. End


         เขียนโปรแกรม (Coding) 

บรรทัดที่
โปรแกรม
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
#include <stdio.h>
void hello( )
{
     printf("Hello , Khun");
}
int main( )
{
     hello( );
     printf("Thaphisit \n");
     hello( );
     printf("Khunyodying \n");
     hello( );
     printf("Jittipon \n");
}

         อธิบายโปรแกรม

บรรทัดที่ 1
เรียกใช้งานไลบรารีชื่อ stdio.h
บรรทัดที่ 2
สร้างฟังก์ชัน hello( )
บรรทัดที่ 3
เริ่มต้นฟังก์ชัน hello( ) ด้วย {
บรรทัดที่ 4
แสดงข้อความ Hello, Khun
บรรทัดที่ 5
สิ้นสุดฟังก์ชัน hello( ) ด้วย }
บรรทัดที่ 6
กำหนดคำสั่งโปรแกรมหลัก int main( )
บรรทัดที่ 7
เริ่มต้นโปรแกรมหลักด้วย {
บรรทัดที่ 8
เรียกใช้งานฟังก์ชัน hello( )
บรรทัดที่ 9
แสดงข้อความ Thaphisit
บรรทัดที่ 10
เรียกใช้งานฟังก์ชัน hello( )
บรรทัดที่ 11
แสดงข้อความ Khunyodying
บรรทัดที่ 12
เรียกใช้งานฟังก์ชัน hello( )
บรรทัดที่ 13
แสดงข้อความ Jittipon
บรรทัดที่ 14
สิ้นสุดโปรแกรมหลัก int main( ) ด้วยเครื่องหมาย }

         ผลลัพธ์บนจอภาพ
                  โปรแกรมนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเรียกใช้งานฟังก์ชันชื่อ hello( ) ซึ่งจะมีหน้าที่ในการแสดง
         ข้อความว่า Hello, Khun ฟังก์ชันนี้ทำให้ไม่ต้องเขียนข้อความเดิม ๆ ซ้ำหลายครั้ง

Hello, Khun Thaphisit
Hello, Khun Khunyodying
Hello, Khun Jittipon

          การทดสอบการทำงานของโปรแกรมจากเว็บ https://repl.it/languages/c
                    คลิกเครื่องหมาย  เพื่อดูผลผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมด้านล่าง
          (ลิงค์สำรอง https://repl.it/repls/CompatibleFrillyDirectory)


———————————————————————————————————————————