สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: นิพจน์ (Expression) ::

  ——————————————————————————————————————————

นิพจน์ (Expression) 1
        นิพจน์ คือ การนำเอาค่าคงที่ หรือตัวแปรต่าง ๆ มาดำเนินการประมวลผล โดยผ่านทางเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรืออาจจะเป็นเครื่องหมายในการเปรียบเทียบ ตัวอย่างนิพจน์ที่มักจะพบในปัจจุบัน เช่น
a + b = 0, a + 5 = 10 เป็นต้น นิพจน์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


1.
นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ 1
2.
นิพจน์ทางตรรกศาสตร์ 1

(แหล่งข้อมูล...  คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ฉบับสมบูรณ์/ อรพิน ประวัติบริสุทธิ์)

——————————————————————————————————————————

1. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ 1
      
  เป็นเหมือนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะต้องมีการเปลี่ยนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ทั่วไป เช่น + - x และ ÷ ให้อยู่ในรูปแบบของเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะพบว่าเครื่องหมาย x (คูณ) จะต้องเปลี่ยนเป็น * ส่วนเครื่องหมาย ÷(หาร) จะเปลี่ยนเป็น / เพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ว่ากำลังจะดำเนินการใดอยู่ ดังตารางที่ 1

        ตารางที่ 1 ตัวอย่างการเปรียบเทียบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์

      นิพจน์ในทางคณิตศาสตร์ทั่วไป
นิพจน์ในทางคณิตศาสตร์ในคอมพิวเตอร์
a + b + c
a + b + c
2ab + c
2 * a * b + c
 a + b
c + d
a + b / c + d
(a x b) + c
( a * b ) + c
2a + 3b
C
(2 * a) + (3 * b) / c

         ลำดับการประมวลผลของเครื่องหมายในการคำนวณ ลำดับในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ในทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณนั้น จะมีความสำคัญและประมวลผลลำดับก่อนหรือหลังนั้นจะขึ้นกับเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ที่เขียนด้วย โดยระบบคอมพิวเตอร์จะดำเนินการจากซ้ายไปขวา

——————————————————————————————————————————

2. นิพจน์ทางตรรกศาสตร์ 1
        เป็นเหมือนนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ที่จะต้องมีการเปรียบเทียบความเป็นจริงและเท็จ
แต่การเขียนนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ในทางคอมพิวเตอร์ จะต้องเขียนให้อยู่ในรูปแบบการเปรียบเทียบ
โดยใช้เครื่องหมาย && (และ) , || (หรือ) และ ! (นิเสธ) ดังตารางที่ 2


        ตารางที่ 2 ตัวอย่างการใช้นิพจน์ทางตรรกศาสตร์
          
      กำหนดให้ a = 5 , b = 10 และ c = 20

นิพจน์ตรรกศาสตร์เขียนใน
รูปแบบคอมพิวเตอร์
การดำเนินการ
ผลลัพธ์
a < b && b > c
T && F
F
(b + a) < c || 2c
T || T
T
a == b || (!c)
F || F
F
——————————————————————————————————————————