1. ประเภทของข้อมูลออกได้เป็น 6 ประเภทด้วยกันคือ
1. ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็ม (Integer)
2. ข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม (Float)
3. ข้อมูลชนิดเลขฐานแปด (Octal)
4. ข้อมูลชนิดเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)
5. ข้อมูลชนิดตัวอักขระ (Character)
6. ข้อมูลชนิดข้อความ (String)
——————————————————————————————————————————
2. ตัวแปร (Variable)
หมายถึง ชื่อที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทน หรือเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ(Memory) บางครั้งตัวแปรอาจจะเปรียบเสมือนชื่อกล่องที่เก็บข้อมูล โดยสามารถนำเอาข้อมูลชนิดต่าง ๆ ไปเก็บไว้ในกล่องนั้นได้
ส่วนการตั้งชื่อตัวแปรนั้นจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรและตามด้วยตัวอักษร หรือตัวเลขก็ได้ และชื่อตัวแปร
ที่ตั้งขึ้นมาควรจะสื่อความหมายกับสิ่งที่กำลังดำเนินการหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจอยู่
——————————————————————————————————————————
3. ประเภทของตัวแปร (Type Of Variable)
การเลือกใช้ประเภทของตัวแปรนั้น ควรจะเลือกให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากการเลือกใช้ที่เหมาะสมและตรงกับงานนั้น ๆ จะมีผลทำให้การใช้งานหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ มีความเหมาะสมตามไปด้วยและหากใช้ไม่เหมาะสมกับงานแล้ว ก็จะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช่เหตุ
——————————————————————————————————————————
4. หลักการตั้งชื่อตัวแปร
1. ตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z, a-z หรือเครื่องหมาย _ (Underscore) เท่านั้น
2. ตัวอักษรที่ตามมาของชื่อตัวแปรนั้นจะต้องเป็น A-Z, a-z และเครื่องหมาย _ (Underscore)
หรือตัวเลข
3. ห้ามเว้นช่องว่างภายในชื่อตัวแปร และห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ
4. การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่และอักษรตัวพิมพ์เล็กในการตั้งชื่อตัวแปรนั้นมีความแตกต่างกัน
โดยโปรแกรมภาษาซีจะถือว่าเป็นคนละตัวแปรกัน เช่น Address และ ADDRESS
5. ห้ามตั้งชื่อตัวแปรตรงกับคำสงวน (Reserved Word) ในภาษาซี ซึ่งคำสงวนได้แก่ พวกคำสั่ง
ต่าง ๆ และชนิดของตัวแปรต่าง ๆ เช่น if, char, printf เป็นต้น
——————————————————————————————————————————
5. รูปแบบการประกาศตัวแปร
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น สิ่งที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องรู้คือ รูปแบบการประกาศตัวแปร หรือที่เราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Variable Declaration เพื่อนำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมที่ได้เขียนขึ้นมาในภาษาซีนั้น มีการประกาศตัวแปร
ดังต่อไปนี้ Type Variable_Name;
และ Type Variable_Name = Value;
——————————————————————————————————————————
6. เครื่องหมายในภาษาคอมพิวเตอร์
เครื่องหมายในภาษาคอมพิวเตอร์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
2. เครื่องหมายเปรียบเทียบ
3. เครื่องหมายทางตรรกศาสตร์
——————————————————————————————————————————
7. นิพจน์
นิพจน์ คือ การนำเอาค่าคงที่ หรือตัวแปรต่าง ๆ มาดำเนินการประมวลผล โดยผ่านทางเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรืออาจจะเป็นเครื่องหมายในการเปรียบเทียบ สามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภทคือ
1. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นเหมือนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะต้องมีการเปลี่ยนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ทั่วไป เช่น + - x และ ÷ ให้อยู่ในรูปแบบของเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
2. นิพจน์ทางตรรกศาสตร์ เป็นนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ทั่ว ๆ ไปที่จะต้องมีการเปรียบเทียบความเป็นจริง และเท็จ
——————————————————————————————————————————
|